วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ระบบ AS/RS

AS/RS

    ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Unit Load AS/RS

- Miniload AS/RS
- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
- Automated Item Retrieval System
- Deep-Lane AS/RS

        
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1.      โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2.      เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.      หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.      สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS

การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1.      ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2.      สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.      ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4.      สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5.      ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
6.      สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)

คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น

ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ 
กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่

ประโยชน์ที่จะได้รับลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า



ระบบสายพานและรถAGV


          
ระบบสายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

นอกจากนี้ยังมีระบบสายพานแบบอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่ละแบบจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามรูปลักษณ์ และวัสดุที่ใช้ เช่น



Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบ สายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นวัสดุประเภท PVC, PU หรืออาจเป็นวัสดุอื่นๆ ที่เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) เมื่อใช้กับอาหาร, สายพานประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ลำเลียงวัตถุได้หลากหลายประเภท รวมทั้งอาหารที่อยู่ในบรรจุภุณฑ์เรียบร้อยแล้ว พื้นผิวของสายพานจะมีทั้งแบบผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ และแบบที่ติดโปรไฟล์กั้นเป็นบล็อคๆ สามารถใช้ลำเลียงได้ทั้งในแนวระนาบ และลาดชัน


      Mini Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ใช้สายพานเป็น PVC หรือ PU ระบบสายพานลำเลียงที่มีขนาดเล็ก กว้างไม่เกิน 30cm. และ ยาวไม่เกิน 2m. วัสดุที่ใช้ และรูปลักษณ์จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน และสเปคที่ลูกค้าระบุ ใช้สำหรับลำเลียงสินค้าหรือวัตถุที่มีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป


Rubber Belt Conveyor คือ ระแบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นสายพานยางดำ มีทั้งแบบชนิดเรียบ และชนิดบั้ง ส่วนใหญ่จะใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทาน และมีการรับน้ำหนักที่มากเป็นพิเศษ




Roller Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียง ที่ไม่ใช้สายพาน แต่จะใช้เพียงแค่ลูกกลิ้งเพื่อลำเลียงสินค้า โรลเลอร์ (roller) เป็นตัวพาสินค้าให้เคลื่อนที่ไป สามารถลำเลียงได้ทั้งในแนวตรง และแนวโค้งงอ
ประเภทของ Roller Conveyor
Power Roller Conveyor จะเป็นประเภทที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน ลูกกลิ้งแต่ละลูกจะถูกหมุนด้วยแรงของมอเตอร์ และพาสินค้าให้เคลื่อนที่ไป
Free Roller Conveyor จะเป็นประเภทที่ไม่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน อาจใช้แรงคนในการผลัก ดึง หรือลาก เพื่อให้สินค้าเคลื่อนที่


       Top Chain Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่พลาสติก หรือโซ่สเตนเลสมาใช้แทนสายพาน ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่เป็นตัวขับเคลื่อน และลำเลียงวัตถุ โดยที่ตัวโซ่ด้านบนจะมีปีกแบนๆ เพื่อใช้วางวัตถุ โซ่จะเรียงต่อกันคล้ายก้างปลา เมื่อเรียงต่อกันสามารถทำมุมโค้งงอได้ถึง 90 องศา มีทั้งแบบที่ใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก และสเตนเลส เหมาะแก่การลำเลียงชิ้นงานเล็กๆ เช่น ลำเลียงขวด, กระป๋อง, แก้ว หรือชิ้นงานบรรจุถุง เป็นต้น


Wire Mesh Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นตะแกรงโลหะ มีทั้งแบบที่ทำมาจากเหล็ก และสเตนเลส มีทั้งแบบลวดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีทั้งแบบตะแกรงตาถี่ และตะแกรงตาห่าง เหมาะสำหรับลำเลียงวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง และถ้าใช้เป็นตะแกรงแบบที่เป็นสเตนเลสก็สามารถใช้ลำเลียงอาหารได้ด้วย

       
Modular Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นพลาสติกชนิดพิเศษ ที่มีความแข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการเสียดสี ทนต่ออุณหภูมิที่ไม่ปกติได้ตั้งแต่ -60 ถึง +180 องศาเซลเซียส (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ) สามารถใช้ลำเลียงอาหาร หรือวัตถุอื่นใดก็ได้ตามต้องการ และตามความเหมาะสม จุดเด่นที่สำคัญคือการทนต่ออุณภูมิ ความแข็งแรง และอายุการใช้งาน


 Overhead Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่จะลำเลียงวัตถุไว้ที่ความสูงระดับเหนือศรีษะขึ้นไป ที่วางสินค้าอาจมีลักษณะเป็นกระเช้าแขวน หรือตะขอเกี่ยว เหมาะกับโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดหรือต้องการประหยัดพื้นที่ สามารถเก็บสต็อกสินค้าไว้บนกระเช้าแขวนได้ นอกจากจะช่วยประหยัดพื้นที่แล้ว ยังช่วยเพิ่มความเป็นระเบียบให้กับโรงงานอีกด้วย


ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ รถ AGV



รถ AGV  (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า เป็นเครื่องจักรประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถ Fork lift ความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกกำหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV ต้องติดตั้งเส้นทางการวิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังสายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ ควบคุมรถ AGV สามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้คำสั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของรถ AGV หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGVอีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ

ประเภทของการใช้งานรถ AGV


ประเภทระบบลำเลียงแบบโซ่
(Chain Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา


ประเภทระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง
(Roller Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา


ประเภทโฟล์ค (Fork)
ใช้สำหรับยก/วาง ระหว่างพื้นและอุปกรณ์ลำเลียง


ประเภทขนย้ายม้วนวัสดุ
(Roll Handling)
ใช้สำหรับขนย้ายม้วนวัสดุ ไป/มา ระหว่างเครื่องจักร


ประเภทบรรทุก (Tunnel Tow)
ใช้สำหรับลากจูงโดยจะวางอยู่ข้างใต้รถเข็น/รถลาก


ประเภทลากจูง (Front Tow)
ใช้เป็นพาหนะลากจูงรถเข็น (คล้ายรถไฟ) สามารถใช้เป็นแบบอัตโนมัติหรือพนักงานบังคับก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์


ประเภท Mini-load
Mini-load AGV เหมาะสำหรับการจัดส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ไปยังโรงประกอบ

 การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
 1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV

 หลักการใช้งานและการควบคุมความปลอดภัยของรถ AGV ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) เป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้รถทำงานได้โดย ให้รถแต่ละคันมีอิสระต่อกัน สามารถขับเคลื่อน ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำทางด้วย เส้นทางขนส่งที่ฝังอยู่บนพื้นของโรงงาน รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ในตัวรถซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ในระยะหนึ่งจากนั้นต้องทำการอัดแบตเตอรี่ใหม่การกำหนดเส้นทางขนส่งของระบบ AGV นี้อาจจะทำได้โดยใช้สายไฟฟ้าฝังอยู่กับพื้นโรงงาน หรือใช้สีสะท้อนแสงทาบนพื้นโรงงานก็ ได้รถจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ในการนำทาง รถ AGV ที่

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 6 หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม



บทที่ 6 หุ่นยนต์ในงานอุตสากรรม

OceanOne หุ่นยนต์ดำน้ำคล้ายมนุษย์ อนาคตของการทำภารกิจใต้น้ำ



OceanOne ยาว 1.5 เมตร ท่อนบนของตัวหุ่นยนต์ออกแบบรูปร่างเลียนแบบมนุษย์ มีกล้อง 2 ตัวที่หัวเพื่อมองภาพเป็นสามมิติ มีแขน 7 องศาอิสระ 2 ข้างที่ใช้ต้นกำลังแบบ series elastic actuator มีเซนเซอร์วัดแรงที่ข้อมือ และมือจับแบบ underactuated ทำให้สามารถรับรู้แรงที่แขนและมือของหุ่นยนต์ได้ และทำให้สามารถหยิบวัตถุได้โดยไม่ทำให้วัตถุเสียหาย ครึ่งหลังของ OceanOne เป็นส่วนควบคุมและขับเคลื่อน ติดตั้งคอมพิวเตอร์ควบคุม แบตเตอรี่ เซนเซอร์วัดแรงดันน้ำ (ไว้คำนวณความลึก) DVL (Doppler Velocity Log – ใช้วัดความเร็วกระแสน้ำ หรือวัดความเร็วพาหนะที่เคลื่อนที่ในน้ำ) กล้องจับภาพสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว และขับเคลื่อนได้ทุกทิศทางด้วย thruster 8 ตัว ภายในส่วนต่าง ๆ ของ OceanOne ถูกบรรจุด้วยน้ำมันแทนที่จะเป็นอากาศ ทำให้ทนแรงดันน้ำได้ลึกถึง 2,000 เมตร



oceanone-component
ส่วนประกอบของ OceanOne
OceanOne สามารถจับวัตถุที่ละเอียดอ่อนได้
OceanOne สามารถจับวัตถุที่ละเอียดอ่อนได้

การทำงานของ OceanOne นั้นเป็นการทำงานประสานกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ คือ หุ่นยนต์นั้นแข็งแรง สามารถทำงานในที่ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ สามารถวัดและควบคุมรวดเร็ว แม่นยำ สามารถควบคุมรักษาตำแหน่งทั้งลำตัวและแขนให้อยู่นิ่ง ๆ ได้แม้มีกระแสน้ำรบกวน ทั้งหมดนี้ถูกควบคุมโดยมนุษย์ มีมนุษย์เป็นคนคิด วางแผนปฏิบัติงาน สั่งคำสั่งควบคุมไปยังหุ่นยนต์และหุ่นยนต์ก็ส่งข้อมูลการรับรู้ทางภาพและการสัมผัสกลับมาที่ผู้ควบคุม (แบบที่ Ousssama Khatib เคยมาบรรยายที่ AIT)


บทที่5 เครื่อง NC CNC DNC


บทที่ 5


1. เครื่องจักรNC (Numerical Control) 

หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.

ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.




ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.

       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)



คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC

      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)
เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น

ตัวอย่างเครื่อง NC









2. เครื่อง CNC (Computer Numerical Control) 

       คือ เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตัวเครื่องจะทำงานตามแบบที่เราได้จัดใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไป และสามารถใช้ได้หลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรชนิดนี้กับงานโลหะที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำ หรือมีความซับซ้อนสูง โดยมีจุดประสงค์ในสร้างเครื่อง CNC ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติในแบบรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำงานในแบบที่ซับซ้อนได้ดี ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมมุมต่างๆ ได้อย่างละเอียด
  นับตั้งแต่เครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) ขึ้นมามีบทตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา และกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีการผลิตและพัฒนาออกมาใช้กันอย่างกว้างขวางหลากหลาย ในงานด้านต่างๆ ซึ่งในบทความนี้จะขอสรุปเครื่องจักร CNC ประเภทต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต ดังนี้

1. เครื่องกลึงซีเอนซี (CNC Macine Lathe ) สำหรับกลึงงานประเภทที่มีรูปทรงกระบอก 2 มิติ หรือกัดชิ้นงาน
2. เครื่องกัดซีเอนซี (CNC Milling Machine ) แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ ( Machining Center ) สำหรับการกัดชิ้นงาน 3 มิติ


3. เครื่องตัดซีเอนซีโลหะด้วยลวด (CNC Wire Cutting Machine ) สำหรับตัดแผ่นโลหะหนาด้วยลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นผลทำให้วัสดุหลอมเหลวและหลุดออกไปตามแบบที่ต้องการ

4. เครื่องซีเอนซี อีดีเอ็ม (CNC  Electrical Discharge Machine หรือ EDM ) สำหรับกัดชิ้นงาน 3 มิติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเล็คโตรดเพื่อทำการขึ้นรูปชิ้นงานให้ได้ตามแบบที่กำหนด

5. เครื่องซีเอนซีเจียรไน (CNC  Grinding Machine ) สำหรับเจียรไนให้ได้ผิวงานละเอียด เรียบมันวาวโดยแยกออกได้ดังนี้ การเจียรนัยราบ ( Surface Grinding ) การเจียรนัยกลม ( Cylindrical Grinding ) และการลับคมตัดชนิดต่างๆ



6. เครื่องซีเอนซีตัดแผ่นโลหะ (CNC Sheet Metal Cutting ) สำหรับตัดแผ่นโลหะตามรูปแบบที่เราต้องการและความหนาของชิ้นงานไม่หนามาก เราสวามารถแยกประเภทวิธีการตัดได้ คือ เลเซอร์ ( Laser ), พลาสม่า ( Plasma ), น้ำ ( Water Jet )



7. เครื่องซีเอนซีวัดโคออร์ดิเนต (CNC  Coordinate Measuring Machine หรือ CMM ) สำหรับวัดขนาด หรือ โคออร์ดิเนตของตำแหน่งต่าง ๆ บนชิ้นงาน 3 มิติ



8. เครื่องเจาะซีเอนซี (CNC Drilling Machine ) สำหรับเจาะรูกลมและทำเกลียวสำหรับชิ้นงาน

9. เครื่องเจาะกระแทกซีเอนซี (CNC  Punching Machine ) สำหรับตัดและเจาะแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยใช้ทูล ( Tool ) กระแทกแผ่นให้ขาด

10. เครื่องพับแผ่นโลหะซีเอนซี (CNC Press Brake หรือ Bending Machine ) สำหรับพับแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรง 3 มิติ หรือรูปทรงอื่นตามความต้องการ

11. เครื่องคว้านซีเอนซี (CNC  Boring Machine ) สำหรับคว้านรูกลมให้ชิ้นงานสำหรับผิวงานละเอียด ซึ่งชิ้นงานมีขนาดใหญ่

ตัวอย่างเครื่อง CNC



3. เครื่องจักร DNC (Distribution Numerical Contro)


ความหมายของ DNC
          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดีและยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
       1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
        2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
     3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
       4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
      5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
       6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้
คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างเครือง DNC